"การบำรุงรักษา" ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การซ่อมเครื่องจักรอีกต่อไป แต่เป็น‘การเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพสูงสุด’
Industrial Plant Maintenance:
การที่เครื่องจักรเสียหรือหยุดการทำงานกะทันหันในโรงงานผลิต ทำให้เกิดผลกระทบต่อตารางการผลิตและนำไปสู่การหยุดงานที่สร้างภาระค่าใช้จ่ายเพิ่ม จนอาจส่งกระทบต่อกำไรของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ
ด้วยตัวช่วยจากเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น ตัวตรวจจับอัจฉริยะ (smart sensors) คลาวด์คอมพิวติ้ง (cloud computing) ปัญญาประดิษฐ์และอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง [AI and the Internet of Things (IoT)] เป็นต้น ทำให้การบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตคลอบคลุมและกว้างไกลกว่าแค่การเข้าตรวจสอบตามตารางการบำรุงรักษาปกติของช่างซ่อมบำรุง ตัวอย่างเช่น ตัวตรวจจับอัจฉริยะ (smart sensors) สามารถแจ้งเตือนผู้จัดการโรงงานถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามเวลาจริง ทำให้สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที ก่อนที่จะสร้างผลกระทบต่อขบวนการผลิต
"การบำรุงรักษาขบวนการผลิตอัจฉริยะ" คุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะมันเป็นการรับประกันว่า เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ 100% อย่างต่อเนื่องและยาวนานที่สุด ในขณะเดียวกันก็ยังคงคุณภาพในการผลิตสูงสุด




‘การบำรุงรักษาอัจฉริยะ’ ส่งผลให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลกมีความปลอดภัยมากขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงสุด
การบำรุงรักษาระบบโครงสร้างพื้นฐาน:
ระบบขนส่งทางรางของประทศญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่ดีมากของการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ ในทุกสัปดาห์จะมีผู้โดยสาร 34 ล้านคน ใช้บริการรถไฟสายยามาโนเตะซึ่งวิ่งวนรอบเมืองโตเกียว เนื่องจากขบวนรถไฟแต่ละขบวนจะมีช่องว่างระหว่างขบวนห่างกัน 2-3 นาที ตั้งแต่เวลาเช้าตรู่จนถึงดึกมาก มันจึงเป็นเรื่องที่ยากลำบากมากในการบริหารจัดการและทำการบำรุงรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการ อย่างไรก็ตาม การนำระบบการบำรุงรักษาอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยี IoT เข้ามาใช้ ทำให้สามารถเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลจากตัวรถและระบบรางได้ตามเวลาจริงที่เกิดขึ้น (real time) ทำให้สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยที่เกิดขึ้น และคาดการณ์ระบบที่อาจจะเกิดการขัดข้องได้ก่อนล่วงหน้า สืบเนื่องมาจากของระบบโครงสร้างพื้นฐานในการขนส่งที่ถูกใช้มาเป็นเวลานาน ทำให้ระดับความสนใจเพิ่มสูงขึ้นในทั่วทุกมุมโลก การบำรุงรักษาอัจฉริยะคือแนวทางใหม่ที่สามารถนำมาใช้เพื่อรักษาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็น ระบบราง ขบวนรถไฟ ถนน ทางหลวง อุโมงค์ สะพาน และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ
"การบำรุงรักษาอัจฉริยะ" จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการปฏิวัติในระบบโครงสร้างพื้นฐานของโลก
MRA (Maintenance & Resilience Asia) 2023:
ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของ ‘การบำรุงรักษาเพื่อผลผลิตที่ดีกว่าเดิม’ งาน Maintenance & Resilience Tokyo ถูกจัดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นเป็นประจำทุกปี มาเป็นเวลาเกือบ 60 ปีแล้ว งานแสดงสินค้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความสนับสนุนในด้านการบำรุงรักษาแก่โรงงานในภาคอุตสาหกรรม ตลอดไปจนถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานและไซต์งานก่อสร้าง เพื่อสร้างทุนทางสังคม หรือ social capital ที่ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่นสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
งานแสดงสินค้า MRA จัดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อวันที่ 2-4 ตุลาคม 2562 ด้วยธีมงาน "การผลิตอัจฉริยะและระบบโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ หรือ Smart Manufacturing & Smart Infrastructure" งานแสดงสินค้ามุ่งเน้นจุดสนใจไปที่เทคโนโลยีและโซลูชั่นด้านการบำรุงรักษาที่ก้าวหน้าและทันสมัย เพื่อให้ได้ผลผลิตและประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับโรงงานผลิต โครงการก่อสร้างและระบบโครงสร้างพื้นฐาน
สาระสำคัญหรือธีมของงานแสดงสินค้าและการประชุมเชิงวิชาการ MRA 2023 คือ "ความปลอดภัยอัจฉริยะในอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีด้านการบำรุงรักษา หรือ Smart Industrial Safety & Maintenance Technology" ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคม 2566 ที่ ไบเทคบางนา กรุงเทพมหานคร งานแสดงสินค้าจะคลอบคลุมใน 4 ส่วนสำคัญ คือ
- การบำรุงรักษาและการบริหารจัดการโรงงานอุตสาหกรรม และโรงงานทั่วไป
- วิศวกรรมโรงงาน
- ความปลอดภัยในภาคอุตสาหกรรม
- การบำรุงรักษาและการบริหารจัดการระบบโครงสร้างพื้นฐาน